16 ก.ย. 2553

มิติแห่งการทดสอบ

กับค่านิยมที่ผิดพลาดของมนุษย์ในสังคม


โดย ซัยยิด กุฏบฺ
อาอิช แปลและเรียบเรียง

“ส่วนมนุษย์นั้น เมื่อพระเจ้าของเขาทรงทดสอบเขา โดยทรงให้เกียรติเขาและทรงโปรดปรานเขา เขาก็จะกล่าวว่าพระเจ้าของฉันทรงยกย่องฉัน
แต่ครั้นเมื่อพระองค์ทรงทดสอบเขา ทรงให้การครองชีพของเขาเป็นที่คับแคบแก่เขา เขาก็จะกล่าวว่า พระเจ้าของฉันทรงเหยียดหยามฉัน” อัลฟัจญรฺ 15-16

นี่คือความคิดของมนุษย์เกี่ยวกับรูปแบบต่างๆของการทดสอบ ที่อัลลอฮฺทรงกำหนดให้ กับเขา มันอาจจะเป็นความสุขหรือความทุกข์ ความร่ำรวยหรือความยากจน อัลลอฮฺอาจจะทดสอบเขาด้วยความสุขสบาย ความมีเกียรติ ความมั่งคั่งหรือยศถาบรรดาศักดิ์ แต่เขามิได้ตระหนักถึงธรรมชาติของการทดสอบ มิหนำซ้ำเขายังคิดว่าการทดสอบนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเขาคู่ควรแก่การได้รับ เกียรติจากอัลลอฮฺ ตะอาลา และเป็นการแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงเลือกเขาสำหรับเกียรติที่พิเศษ…มันเป็นแนวคิดที่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการทดสอบสำหรับรางวัลและผลตอบแทนที่ผิด คิดไปว่าเกียรติ ณ ที่อัลลอฮฺถูกประมาณค่าด้วยความสุขทางโลกต่างๆนาๆ ที่ให้กับมนุษย์ อัลลอฮฺยังทดสอบมนุษย์โดยการให้การครองชีพของเขาอย่างจำกัดจำเขี่ยและอีก ครั้งหนึ่งที่มนุษย์เข้าใจผิดเกี่ยวกับการทดสอบในเรื่องรางวัลการตอบแทนและ จินตนาการไปว่าการทดสอบนี้เป็นการลงโทษ เขาคิดว่าว่าอัลลอฮฺ ตะอาลา ทำให้เขาขัดสนเพื่อที่จะเหยียดหยามเขา

ความคิดของมนุษย์ที่มีต่อสภาพการณ์ทั้ง สองนี้ล้วนบกพร่องความมั่งคั่งและความขัดสนคือสองรูปแบบของการทดสอบที่อัลลอฮฺทรงกำหนดให้กับบ่าวของพระองค์

การทดสอบด้วยความมั่งคั่งจะเปิดเผยให้เห็นว่ามนุษย์คนใดเป็นผู้ นอบน้อมและ รู้จักขอบคุณต่อพระผู้อภิบาลของเขาหรือไม่ก็เป็นผู้ยะโสและถือตัว

ขณะที่การทดสอบด้วยรูปแบบตรงกันข้ามชี้ให้เห็นว่าเขาเป็นผู้อดทนหรือ มี อารมณ์ฉุนเฉียวและกระวนกระวายใจ รางวัลที่มนุษย์จะได้รับจะสอดคล้องกับสิ่งที่เขาได้พิสูจน์ออกมาให้เห็น

มนุษย์ที่ปราศจากความศรัทธาจะไม่สามารถเข้าใจถึงวิทยปัญญาที่อยู่เบื้องหลังการงาน ของอัลลอฮฺที่ทรงมอบความสุขสบายทางโลกหรือความทุกข์ยากแก่พวกเขาได้ แต่เมื่อหัวใจของเขามีรัศมีเกี่ยวกับความศรัทธาและสัจธรรมได้ปรากฏเบื้องหน้า เขา เขาจะรู้ว่าความร่ำรวยทางโลกเป็นเรื่องเล็กน้อย เช่นเขามองข้ามถึงการครุ่นคิดที่ไร้สาระในเรื่องความร่ำรวยและความขัดสน เขามีความเชื่อมั่นในลิขิตและสถานะของเขา ณ ที่อัลลอฮฺ
ในช่วงเวลาของการประทานวะหฺยฺ อัล กุรอานได้กล่าวถึงผู้คนกลุ่มหนึ่งที่อยู่ใน “สังคมญาฮีลี ยะฮฺ” ที่ตัดความสัมพันธ์กับทางโลกที่ห่างไกลกับยุคสมัยของเรามาก พวกเขารับเอาทัศนะที่ผิดพลาดเกี่ยวกับการประทานหรือการละเว้น พวกเขากำหนดคำนิยมโดยถือว่าเกียรติทั้งหลายนั้นขึ้นอยู่กับความร่ำรวยหรือสถานะทางสังคม ฉะนั้นความกระหายของเขาในเรื่องความร่ำรวยเป็นสิ่งที่ไม่อาจต้านทานได้ มันทำให้พวกเขามีความปรารถนา ความละโมบ ความไม่พอเพียง อัล กุรอานได้เผยให้เห็นถึงความรู้สึกและสภาพที่แท้จริงของพวกเขาและกล่าวว่า ความละโมบและความไม่รู้จักพอเป็นต้นเหตุที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถที่จะเข้าใจ ถึงความหมายที่แท้จริงในการทดสอบจากพระเจ้าในความร่ำรวยที่ประทานให้หรือมิได้ประทาน

ขอขอบคุณ www.fityah.com/index.php?option=com_content&task=view&id=718&Itemid=1

ไม่มีความคิดเห็น: