
กล่าวอย่างง่าย ๆ เลยสำหรับเส้นแบ่งระหว่าง ภาษา (Language) กับ ภาษาศาสตร์ (Linguistics) ก็คือ ปรากฏการณ์ กับ การอธิบายปรากฏการณ์
ภาษา คือ ปรากฏการณ์ หรือระบบการสื่อสารที่มนุษย์ใช้เพื่อสำเร็จประโยชน์ในการส่งผ่านสิ่งที่อยู่ในสมองหรือความคิดคำนึงและอารมณ์มนุษย์ไปยังผู้อื่น ๆ หรือภายในตน
ภาษานั้นเป็นรูปธรรมที่สัมผัสได้ โดยมีระบบใช้เสียงพูดของมนุษย์ หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ (Sign- Gesture) เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์การสื่อสาร มีคำหรือสิ่งที่แสดงถึงวัตถุ แนวคิดนามธรรม หรือ สภาวะบางอย่างเป็นเครื่องมือก่อนที่จะขยายตัวหลาย ๆ คำรวมเป็นประโยคเพื่อสื่อสารได้มากขึ้น แม้ว่าถือว่าภาษานั้นเป็นรูปธรรม แต่ก็ต้องถือว่าภาษาเป็นผลพวงจากความคิดอันซับซ้อนของสมองมนุษย์ และที่สำคัญสัตว์ไม่สามารถทำได้เลย ถืงแม้ว่าปัจจุบันเรามิได้ปฏิเสธว่าสัตว์ไม่สามารถสื่อสารได้ แต่การใช้ภาษานั้นยังอยู่ในขีดจำกัด
ภาษามีลักษณะเป็นทวิลักษณ์ที่เกิดจากการรวมของเสียงพยัญชนและสระ หรือ การลงตัวกันของการยอมรับระหว่างสิ่งที่สื่อกับความหมาย (Sign - Meaning) หากในที่นี้เสียงเป็นสิ่งเครื่องมือในการสื่อ เสียงก็คือปัจจัยที่นำไปสู่ความหมาย ฉะนั้นแล้วเสียงที่มีผลต่อความหมายจึงถือว่าสำคัญที่มนุษย์ที่ใช้ภาษาเดียวกันจะต้องรับรู้ร่วมกัน หากสัญลักษณ์ใดไม่สื่อถึงความหมายก็ยุติบทบาทของการแสดงหน้าที่ทางภาษา
ภาษามีการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย เช่นว่า รัฐบาลของประเทศหนึ่งอาจบีบบังคับให้คนในชาติใช้ภาษาใดภาษาหนึ่ง ทำให้ภาษาอื่น ๆ หายไป หรือ ภาษาหนึ่งอาจนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจนคนหันมาสนใจเรื่องเล่านี้มากขึ้น หรือสังคมเห็นดีเห็นงามว่าใช้ภาษาอังกฤษแล้วดีกว่าภาษาอื่น ๆ คนจะเริ่มหันมาสนใจและค่อยปล่อยภาษาตนตนเองให้ลดบทบาทลงโดยไม่ได้ตั้งใจ
ภาษานั้นมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไปหรือไม่ก็คงขึ้นอยู่กับผู้ใชภาษานั้นแหละ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักศึกษาควรสังเกตุอย่างมีสติ
ส่วนภาษาศาสตร์ คือ การศึกษาปรากฏการณ์ทางภาษา ระบบเสียง ไวยากรณ์ และความหมายของคำ หรือแม้กระทั่งการเกิดคำ การศึกษาของภาษาที่ดีนั้น มีอะไร
ผมจะหลับแล้วครับเอาไว้คราหน้าค่อยมาคุยกันต่อ
ฉบับนนี้ผมพยายามเกริ่นให้เห็นภาพแต่เอาไว้คราวน้าจะต่อ ลาก่อน
ขอขอบคุณ www.krislinguistics.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น