15 ก.ย. 2553

Language Acquisition


ตอนนี้ยังไม่มีเวลาเขียนมากนักเกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ภาษา หรือ Language Acquisition แต่ว่าจะนำคำสำคัญมาลงไว้ให้ไปศึกษาต่อก็แล้วกัน

เราเริ่มต้นด้วยการมองการเรียนรู้ภาษาของมนุษย์มีสองประเภท ประเภทแรก คือ การเรียนรู้ภาษาที่หนึ่ง (First Language Acquisition ) หรือ การเรียนรู้ภาษาของเด็ก(Child Language Acquisition) เพราะตั้งแต่ยังไม่เปิดช่องรับภาษาใดเลยในโลกนี้ ประเภทที่สองเราเรียกว่า การเรียนรู้ภาษาที่สอง (Second Language Acquisition ) จะเห็นว่าการเรียนรู้ภาษาที่สาม สี่ หรือ ห้า ก็เรียกการเรียนรู้ภาษาที่สองเช่นกัน เพราะมีปัจจัยต่าง ๆ ในการเรียนรู้เหมือนกัน

การเรียนรู้ภาษาที่หนึ่ง ให้ไปศึกษาการเรียนรู้ภาษาของเด็กให้ดี ที่ไปสัมผัสหรือเปิดตัวเอง ( Contact-Exposure ) อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบใดก็จะเรียนรู้ภาษานั้นโดยธรรมชาติ สิ่งที่เป็นสากลในเรื่องนี้คือ การที่เด็กไม่ว่าจะมีพ่อแม่เป็นเชื้อชาติ หรือใช้ภาษาใด แต่ตัวที่มีผลกับการเรียนรู้ภาษาของเด็กก็คือสิ่งแวดล้อมทางภาษา ลองศึกษาแนวคิดของ Noam Chomsky เกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก หรือทฤษฎีที่เรียกว่า Universal Grammar หรือ Principle and Parameter Theory PPT

ส่วนการเรียนรู้ภาษาที่สองมีความต่างและคล้ายกับการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งอยู่บ้าง คือปัจจัยเรื่องอายุหรือ สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ภาษาที่สองอาจแตกต่างกันกับภาษาที่หนึ่ง และผลการเรียนรู้อาจต่างกันไปด้วย ในการเรียนรู้ภาษาที่สองนี้มีแนวคิด ของ Stephen Krashen เป็นหลัก ลองดูงานของเขาใน http://www.sk.com.br/sk-krash.html

แต่สิ่งที่นักวิชาการด้านภาษาศาสตร์พูดคล้ายกัน ก็คือ การเรียนรู้ภาษาเป็นขบวนการเป็นไปตามธรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องสร้างกฎระเบียบในการเรียนรู้มากเกินไป ลองอ่านงานของ Stephen Krashen ข้างล่างนะครับ

"Language acquisition does not require extensive use of conscious grammatical rules, and does not require tedious drill."

Acquisition requires meaningful interaction in the target language - natural communication - in which speakers are concerned not with the form of their utterances but with the messages they are conveying and understanding."

"The best methods are therefore those that supply 'comprehensible input' in low anxiety situations, containing messages that students really want to hear. These methods do not force early production in the second language, but allow students to produce when they are 'ready', recognizing that improvement comes from supplying communicative and comprehensible input, and not from forcing and correcting production."

ผมไม่มีเวลาอ้างงานชอมสกีเพราะไม่ได้รวบรวมไว้ตอนนี้ ว่าง ๆ จะหามาลงให้นะครับ แต่ก็นิยมแนวทางธรรมชาติซึมซับเช่นกัน

ขอขอบคุณ Kris Dhiradityakul www.kris-languageacquisition.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น: